โครงการ Coaching for Performance

Daniel Goleman นักจิตวิทยาและนักข่าว
ผู้ที่ทำให้แนวคิดเรื่องความฉลาดทางอารมณ์นั้นเป็นที่นิยม ได้เขียนบทความใน
Harvard Business Review เรื่อง “Leadership That Gets Results.”
เขาได้แนะไว้ว่าภาวะผู้นำที่สำคัญนั้นมีอยู่ 6 รูปแบบ

การโค้ชชิ่งคือหนึ่งในนั้นและเป็นแนวทางที่เป็นผลดีต่อผลการปฏิบัติงาน
สภาพวัฒนธรรมองค์กร
แต่ถึงอย่างนั้นการโค้ชชิ่งกลับเป็นแนวทางของภาวะผู้นำที่ถูกใช้น้อยที่สุด
Goleman ได้เขียนเหตุผลไว้ว่า “ผู้นำหลายๆคน
บอกพวกเราว่าเขาไม่มีเวลาท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่กดดันเช่นนี้
ที่จะต้องมาทำงานที่ช้าและลงรายละเอียด สอนผู้คนอื่นๆ
และช่วยพวกเขาให้เติบโต”

แต่อย่างไรก็ตามในสภาวะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากการ
Disruption หลายด้านนั้น
องค์กรหลายองค์กรล้วนต้องการผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาที่ก้าวจากการเป็นเพียงหัวหน้าสู่การเป็นโค้ช
นั่นหมายถึงหัวหน้านั่นต้องได้รับการพัฒนาทักษะและมีเครื่องมือที่พร้อม
สำหรับการโค้ชและมุ่งพัฒนาบุคลากรให้สังกัดของตน
เนื่องจากผู้นำและผู้บังคับบัญชานั้นทำหน้าที่สำคัญในองค์กร
ในการเชื่อมโยงเป้าหมายองค์กรสู่บุคลากรเพื่อที่ทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ
ซึ่งการโค้ชนั้น
เป็นแนวทางการนำโดยสามารถให้คำแนะนำที่มีค่าและความรู้ที่จะส่งเสริมบุคลากรทุกคนให้ก้าวไปสู่ศักยภาพที่สูงสุดได้

อีกทั้งผู้บริหารและผู้บังคับบัญชานั้นมีพันธกิจผูกพัน (Commitment)
เกี่ยวข้องร่วมกัน ในการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
ซึ่งทักษะการโค้ชนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารผลการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
และเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะทางการบริหาร ด้านการสอนงานและการมอบหมายงาน

หน้าที่ของผู้บังคับบัญชาจึงล้วนมีความท้าทาย
เป็นเหตุผลที่การจัดอบรมจะช่วยหาวิธีใหม่ๆ
ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลและผลการปฏิบัติงาน
การอบรมนี้จะช่วยมุ่งพัฒนาในส่วนที่สำคัญไม่ว่าจะผู้เข้าร่วมจะเป็น
หัวหน้างาน หัวหน้าภาควิชา หรือ ผู้บริหาร
การอบรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมค้นพบวิธีทางใหม่ๆ
ในการใช้จุดแข็งก้าวข้ามอุปสรรค และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้

  1. เพิ่มการทำงานในแบบที่บุคลากรมีโอกาสและความรับผิดชอบในการวางแผนและทำงานได้อย่างอิสระ
  2. ผู้บังคับบัญชาสามารถจัดการและมุ่งเน้นการทำให้งานสำเร็จได้
  3. ผู้บังคับบัญชาสามารถเชื่อมโยงเชื่อมต่อกับบุคลากรในทีมได้ และองค์กรมีความผูกพันมากขึ้น

ดังนั้นทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเห็นควรให้จัดโครงการ Coaching for Performance ขึ้น

 

 

วัตถุประสงค์

1 เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทักษะการโค้ชในตำแหน่งหน้าที่ตนเอง

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกฝนการสนทนาและการรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพกับบุคลากรและทีม

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถใช้หลักการของการมีส่วนร่วม (engagement) เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรมีศักยภาพสูงสุด

4 เพื่อส่งเสริมกระบวนการในการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (PMS) ให้มีประสิทธิภาพ

บรรยายโดย ดร.พงศ์ปณต พัสระ
-What is Coaching?
-Why Coaching works?
-Coaching Models
-TAPS
-GROW
-FOLLOW
-พื้นฐานที่สำคัญของโค้ช
-Mindsets
-Human types and needs
-การฟัง การตั้งคำถาม และการสะท้อนกลับ