จริงหรือ ? การประเมินผลงานของพนักงาน องค์กรควรเน้นไปที่การวัด KPIs และ Competency เพื่อพัฒนาผลักดันให้ผลลัพธ์ของพนักงานเกิดขึ้น มาหาคำตอบที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในรายวิชานี้

รายละเอียดคอร์ส

คำอธิบายหลักสูตร

ความหมายของระบบบริหารผลงาน แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน องค์กรประสิทธิภาพสูง วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คุณลักษณะตัวชี้วัดผลงานหลัก แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก การแจ้งและหารือผลการปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ ระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะ และการประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากร

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงานได้
  2. ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบการบริหารผลงานได้
  3. ผู้เรียนสามารถออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การได้
  4. ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะได้
  5. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากรได้

คุณสมบัติผู้เรียน

บุคคลทั่วไป และผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารผลงาน นักศึกษา นักบริหารบุคคล และผู้บริหารองค์กร

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%

 

เนื้อหาในหลักสูตร

บทที่ 1: แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน

  • 1.1 แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน
  • 1.2 องค์กรประสิทธิภาพสูง

บทที่ 2: กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน

  • 2.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • 2.2 การแจ้งผลการปฏิบัติงาน
  • 2.3 กระบวนการบริหารผลงาน
  • 2.4 หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน

บทที่ 3: การออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การ

  • 3.1 ตัวแบบระบบบริหารผลงาน
  • 3.2 ตัวชี้วัดผลงาน วิธีการวัดผลงาน และการรายงานผลการปฏิบัติงาน
  • 3.3 การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ

บทที่ 4: แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน (People Capability and Competency Modeling)

  • 4.1 แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน
  • 4.2 สมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน
  • 4.3 การประเมินสมรรถนะ

บทที่ 5: การประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะ (Competency) หรือขีดความสามารถของคน

  • 5.1 ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนฐานสมรรถนะ (Competency based HRM)
  • 5.2 แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษาระบบสมรรถน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

ผศ.กีรติกร บุญส่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

ดร. วิเชศ คำบุญรัตน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Power by Thai MOOC

https://thaimooc.org/