การพัฒนาตัวเอง

ความเติบโต การเจริญก้าวในหน้าในการงานอาชีพนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของตัวคุณเองที่ต้องบริหารจัดการ

หลายครั้งทุกคนจะนึกว่าถ้าหากเขาทำงานหนัก การงานอาชีพของพวกเขาก็จะดีขึ้นไปในทางที่เขาคาดหวังไว้ แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น คนทำงานในทุกสาขาวิชาชีพนั้นต้องอัพเดทสกิล และขยายทักษะของพวกเขาให้กว้างขึ้นมากกว่าที่เป็นสมัยก่อนมาก
​​​​​​​

ตัวคุณเองคือคนที่ปกป้องผลประโยชน์ตัวเองได้ดีที่สุด ผู้บังคับบัญชาของคุณนั้นมีความรับผิดชอบอีกมากมาย และอาจมีโอกาสพูดคุยหรือหารือ เรื่องเป้าหมายในการงานอาชีพเฉพาะช่วงประเมินเท่านั้น หัวหน้าจะรู้สึกประทับใจหรือขอบคุณ ถ้าหากคุณตั้งใจที่จะตั้งเป้าหมายด้วยตัวคุณเอง พัฒนาทักษะวิชาชีพ และค้นหาโอกาสพัฒนาใหม่ๆอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าองค์กรจะสนับสนุนความก้าวหน้าทางอาชีพ จัดการอบรมต่างๆ การพัฒนาตนเองนั้นขึ้นอยู่กับคุณที่จะลงมือทำและพัฒนาผ่านการเรียนรู้ การกระทำต่างๆด้วยตัวคุณเองด้วย

เป้าหมายในอาชีพ

 

ขั้นตอนแรกในการพัฒนาตนเองนั้นก็คือการตั้งเป้าหมายในอาชีพ (career purpose) คุณต้องการอะไรจากการทำงาน? วิชาชีพการงานของคุณจะอยู่ในส่วนไหนในชีวิตของคุณ? สิ่งใดที่คุณคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จในฐานะหัวหน้า/บุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานนี้?

Clayton Christensen ศาสตราจารย์ ณ Harvard Business School กล่าวถึงสิ่งสำคัญที่สุดที่เขาจะสอนให้กับนักศึกษาของเขาในทุกๆปีว่า “เมื่อต้องตัดสินใจจัดสรรเวลา ทักษะ และพลังงานในตัวเอง จะต้องทำให้สอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตความมุ่งมาดปราถนาในชีวิต” เพราะว่าถ้าหากขาดเรื่องเป้าหมายไป คุณจะไม่รู้ว่าควรตอบสนองต่อความท้าทาย และโอกาสที่เข้ามาอย่างไร

ในการกำหนดเป้าหมาย ให้ตั้งคำถามที่เรามักละเลยในการทำงานในแต่ละวัน โดยอาศัย แบบสอบถาม “การค้นหาเป้าหมาย” นี้

Nick Craig (president of the Authentic Leadership Institute) ได้ฝึกอบรมให้แก่ผู้จัดการ และผู้บริหารหลายพันคนนั้น เขาแนะนำว่าเมื่อคุณได้ตอบคำถามเหล่านี้แล้วนั้น ให้เขียนประโยคง่ายๆ เชิงบวกเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณที่ถอดมาจากแบบสอบถามข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการเขียนนั้นไม่ตายตัว ไม่ได้มีแม่พิมพ์หรือวิธีที่แน่นอนในการ ตั้งเป้าหมายของคุณ (statement of purpose) ให้ใช้ในแบบที่คุณเห็นว่าเหมาะกับตัวเอง พยายามปรับปรุงสิ่งที่เขียนให้กระชับและชัดเจนมากขึ้น และลองขอความคิดเห็นจากผู้อื่นด้วยว่า มันสอดคล้องกับตัวคุณหรือไม่? สิ่งนี้สะท้อนสิ่งที่คุณให้ความสำคัญจริงๆของคุณหรือเปล่า?

เป้าหมายของคุณ (statement of purpose) จะเป็นพื้นฐานของกลยุทธ์ในการพัฒนาตนเอง เก็บเป้าหมายนี้ไว้เพื่อคุณจะกลับมาทบทวนอีกครั้ง เมื่อจะต้องตัดสินใจครั้งใหญ่หรือทำงานท่ามกลางความกดดัน เป้าหมายนี้จะช่วยให้คุณคำนึงถึงความก้าวหน้าและพัฒนาของคุณ เป้าหมายของคุณอาจจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่การทบทวนระหว่างทางจะช่วยปรับให้วิธีการคิดของคุณยิ่งทรงพลังยิ่งขึ้น

แบบสอบถามการค้นหาเป้าหมาย

 

  1. ความถนัดของคุณคืออะไร?
  2. คุณชอบทำอะไร?
  3. คุณทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างไร?
  4. คุณทำงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้หรือไม่?
  5. ค่านิยมของคุณคืออะไร?
  6. คุณต้องการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบใด?
  7. บทบาทของคุณควรเป็นอย่างไร?
  8. ความท้าทายที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคุณสองประการคืออะไร?

แผนที่ 2×2 ที่แมประหว่าง การตระหนักรู้ภายใน (internal self-awareness) การตระหนักรู้ที่เกิดจากการมองตัวเราเองเป็นหลักว่าเรานั้นมีตัวตนอย่างไร กับ การตระหนักรู้ภายนอก (external self-awareness) การรู้จักตัวเองผ่านมุมมองของผู้อื่น

Low external self-awareness High external self-awareness
High internal self-awareness Introspectors

พวกเขาจะรู้อย่างชัดเจนว่าเขาคือใคร แต่ไม่ท้าทายความคิดหรือมุมมองของตนเอง หรือออกไปค้นหาว่าจุดบอดของตนเองคืออะไรจากผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นผลร้ายต่อความสัมพันธ์และทำให้เกิดการจำกัดความสำเร็จของเขาไว

Aware

พวกเขารู้ตัวเองว่าเขาคือใคร สิ่งใดที่เขาอยากทำให้สำเร็จ และออกไปหาผู้อื่น และให้คุณค่ากับความคิดต่างๆของคนอื่น นี่เป็นจุดที่ผู้นำจะเริ่มตระหนักได้ถึงคุณค่าอย่างแท้จริงของการตระหนักรู้

Low internal self-awareness Seekers

พวกเขาไม่รู้ว่าตนเองคือใคร ไม่รู้ว่่าตัวเองนั้นยืนหยัดในคุณค่าอะไร และไม่รู้ว่าเพื่อนๆในทีมของเขามองตัวเขาเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นพวกเขาอาจจะรู้สึกติด ขัดข้องใจ กับผลงานของตนเองและความสัมพันธ์

Pleasers

พวกเขามุ่งภาพลักษณ์ของเขาให้ออกมาเป็นในรูปแบบไหนแบบหนึ่งตามที่คนอื่นต้องการ และมองข้ามสิ่งที่จำเป็นสำหรับเขา เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขามักจะตัดสินใจทำเรื่องที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง หรือเติมเต็มในเรื่องของตนเอง

Source: 4 key self-awareness archetypes by Dr. Tasha Eurish

มองหาโอกาสดีๆภายในองค์กร/คณะฯ

 

เมื่อเป้าหมายของคุณชัดเจนแล้ว ให้ลองมองหาโอกาสที่จะก้าวหน้าไปให้ใกล้เป้าหมายเหล่านั้นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขยายทักษะในงานที่รับผิดชอบอยู่ หรือทำงานโครงการพิเศษ งานที่ท้าทายอื่นๆ หรือถ้าหากคุณพอใจในหน้าที่ปัจจุบันของคุณแล้ว และคุณพร้อมที่จะก้าวไปอีกขั้นในวิชาชีพของคุณ คุณอาจจะลองทำงานอื่นๆ ภายในองค์กรของคุณเพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆในองค์กรมากขึ้น

ให้เริ่มมองหาโอกาสภายในองค์กรเป็นอันดับแรก เพราะว่าคุณได้ทุ่มเททั้งเวลาและความพยายามไปแล้วในการสร้างชื่อเสียง ความไว้ใจ และความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง รวมทั้งคุณยังคุ้นเคยกับวัฒนธรรมการทำงาน ทำให้คุณมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและสามารถเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ภายในองค์กร ได้ง่ายกว่าโอกาสภายนอก องค์กรยังได้ลงทุนไปมากมายกับทรัพยากรบุคคล และก็เป็นสิ่งง่ายที่คุณจะเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว

หาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กร

หาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กร

ขั้นตอนที่ 1 มองหาและหาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรเป็นแบบทางการในองค์กร

เริ่มต้นจากกระบวนการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร หัวหน้าผู้บังคับบัญชาของคุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการช่วยบุคลากรกำหนดเป้าหมาย และค้นหาโอกาสที่เหมาะสมในการพัฒนาตัวเอง ดังนั้นคุณสามารถนัดหมายกับหัวหน้าเป็นอันดับแรก โดยเตรียมตัวที่จะพูดคุยทิศทางในการพัฒนา และถามคำถามเกี่ยวโอกาสที่มีในองค์กรสำหรับคุณ และถ้าหากคุณสะดวกใจ ก็สามารถหารือพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณกับหัวหน้าได้ และขอความเห็นจากพวกเขา

ในขั้นตอนนี้ คุณสามารถหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ได้ดังนี้

  • งานบริหารงานบุคคล ศูนย์มีดี
  • หลักสูตรฝึกอบรมภายในคณะฯ เช่น หลักสูตรเตรียมผู้บริหาร หรือทุนต่างๆ
  • เครือข่ายภายในคณะฯ ที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จัก เพื่อนร่วมงานที่เคยอบรมหลักสูตรเดียวกัน หรือกิจกรรมที่ HR จัดขึ้น
  • พี่เลี้ยงสอนงาน mentor ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทางการที่ HR เคยจัด หรือเป็นคนที่คุณขอคำปรึกษาอยู่เสมอ
  • งานหรือโครงการชั่วคราว อย่างเช่น ลองทำงานใหม่ๆ แทนเพื่อนร่วมงานที่ลาคลอด หรือลาศึกษาต่อ

สัมภาษณ์บุคลากรเพื่อรวบรวมข้อมูล

สัมภาษณ์บุคลากรเพื่อรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์บุคลากรภายในเพื่อรวบรวมข้อมูล

การพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูลนั้นเป็น วิธีหนึ่งที่ในการรวบรวมความรู้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ ทางเลือกต่างๆ ที่มีในคณะฯ คุณต้องเตรียมตัวให้พร้อม และเป็นผู้เริ่มบทสนทนาโดยจะต้องเตรียมตัวมาก่อนไม่ว่าจะเป็น ค้นคว้า และเตรียมคำถามที่ดีมา คุณอาจจะเริ่มจากคำถามเหล่านี้ซึ่ง  แดเนียล โพรอต ที่ปรึกษาด้านการวางแผนอาชีพแนะนำให้เริ่มต้นการสนทนาด้วยคำถามต่อไปนี้

  • คุณเริ่มทำงานในอาชีพนี้ได้อย่างไร?
  • คุณชอบอาชีพนี้ตรงไหน?
  • อะไรในอาชีพนี้ที่คุณไม่ชอบ?
  • อาชีพนี้กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างไร?
  • คนประเภทใดที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพนี้?

-ทั้งนี้ ให้เตรียมคำถามล่วงหน้า และรักษามารยาทด้วย-

พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป

พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป

ขั้นตอนที่ 3 ไขว่คว้าหาโอกาสแบบค่อยเป็นค่อยไป

  • เพิ่มความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิม คุณจะขอทำงานที่ต้องการด้วยการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้หรือไม่? ถ้าหากองค์กรยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ให้ลองริเริ่มเปลี่ยนเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองทำได้ก่อน เพราะผลงานที่เป็นรูปธรรมอาจจะทำให้องค์กรเปลี่ยนใจมาเห็นด้วยภายหลัง
  • ทำงานร่วมกับสังกัดอื่นๆ ในองค์กร คุณสามารถ ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กรเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มาจากไอเดียของคุณได้หรือไม่? ทางเลือกดังกล่าวจะช่วยให้คุณมีเครือข่ายที่กว้างขึ้น และยังได้เรียนรู้งานในหน่วยงานอื่นอีกด้วย
  • หมุนเวียนไปทำงานอื่น องค์กรของคุณมีโครงการพิเศษ หรือการหมุนเวียนไปทำงานอื่นหรือไม่?
  • In house internship

การขอ feedback จากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน

 

บุคลากรที่คุณทำงานด้วย สามารถสนับสนุนคุณการพัฒนาของคุณได้ เพราะพวกเขารู้ดีกว่าคนอื่นว่าคุณทำงานอย่างไร และมีจุดอ่อนจุดแข็งตรงไหน

การรับฟัง feedback ความคิดเห็น อาจทำให้คุณรู้สึกเครียด ทำให้คุณกังวล แม้จะเป็นข้อมูลที่คุณควรได้ยิน แต่ความรู้สึกอารมณ์อาจจะมีผลกับคุณมากเกินกว่าที่คุณจะรับได้ การศึกษาพบว่าเรามักจะจดจำข้อมูลเชิงลบได้ดีกว่า และจมปลักกับจุดอ่อนจนละเลยสิ่งที่เป็นจุดแข็งของตนเอง

การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานนั้นต้องฝึกในการแยกรับฟังและใช้ประโยชน์จากการวิพาษ์วิจารณ์ที่สร้างสรรค์และคัดเลือกให้พบเจอในสิ่งที่เป็นจุดแข็ง และก็ต้องรู้จุดอ่อนของตนเองด้วย

​​​​​​​

หนึ่งในวิธีในการรับมือกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์คือการตั้งใจฟังและตั้งคำถาม เช่น  “บอกผมมาเลยได้ไหม?” “ผมอาจมองไม่เห็นตัวเอง คุณช่วยบอกสิ่งที่คุณมองเห็นได้ไหม?” การขอข้อมูลเพิ่มเติมจะทำให้คุณหลุดออกจากความรู้สึกปกป้องตัวเอง และเปลี่ยนให้เป็นมุมมองของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำ

ในระยะยาว คุณจะอาจจะรับประสบการณ์เหล่านี้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน และคุณยังได้ประโยชน์ในการทบทวนเป้าหมายและแผนการพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นด้วย

บทสรุป