ทำให้การโค้ชเป็นบทสนทนาที่ต้องทำ

 

หัวหน้าที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชจะสามารถเข้าใจสมาชิกในทีมและพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับบทบาทและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง พวกเขารู้วิธีพูดคุยกับบุคลากร ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องว่าควรคุยบ่อยแค่ไหน วิธีกระตุ้นประสิทธิภาพ หัวหน้าเหล่านี้เข้าใจว่าสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น ต้องการให้มีการสนทนาการฝึกสอน หรือการโค้ชในรูปแบบที่แตกต่างกัน จนถึงจุดหนึ่ง พวกเขาอาจมีโอกาสที่จะให้ข้อเสนอแนะ ณ ตอนนั้นเลย อีกกรณีหนึ่งอาจช่วยบุคลากรวางแผนสู่ความสำเร็จ และอีกกรณีหนึ่ง สถานการณ์อาจเรียกร้องให้มีการสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของบุคลากร

หัวหน้าไม่ควรด่วนสรุปว่าบุคลากรรู้วิธีบรรลุเป้าหมายเสมอ แม้ว่าทั้งหัวหน้าและบุคลากรจะตั้งเป้าหมายร่วมกันในขั้นต้น สถานการณ์และลำดับความสำคัญยังคงเปลี่ยนแปลงได้ บุคลากรต้องการข้อมูลย้อนกลับ/คำติชม ที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในบทบาทและความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ดังนั้นบุคลากรจึงต้องมีการสนทนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายของพวกเขายังคงเหมาะสม มีลำดับความสำคัญชัดเจน และมีความคืบหน้าเกิดขึ้น พวกเขาควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า – ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาแห่งความมั่นคงหรือในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง – บุคลากรที่กำลังทำงานผ่านอุปสรรค จะมีคำแนะนำ โอกาสในการพัฒนาแบบ real-time ที่พวกเขาต้องการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

“Role of Leader as coach > Identify gap, Develop (เพื่อที่ผู้ที่ถูกโค้ชสามารถทำงานแทนเราได้ หรือเก่งกว่าเราแล้วเราจะได้ไปทำอย่างอื่น)” – โค้ชเปี่ยมสุข

defines coaching as 

partnering with clients in a thought-provoking
and creative process that inspires them
to maximize their personal and professional potential.

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพฤติกรรมของการโค้ช หัวหน้าควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการสนทนาเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพวกเขาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีแนวปฏิบัติที่ดีดังนี้

แนวปฏิบัติที่ดี

Frequent

What to Do

ทราบว่าบุคลากรแต่ละคนชอบการสื่อสาร การสนทนา และการโค้ชในรูปแบบไหน อย่าเพียงขอรายงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ให้ติดต่อกับพวกเขาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ไม่ว่าจะผ่านทางอีเมล โทรศัพท์ การส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที การสนทนาตามโถงทางเดิน หรือการประชุมทางวิดีโอ เพื่อให้เกิดรูปแบบการฝึกสอน การโค้ชในรูปแบบใดก็ได้

Focused

What to Do

เน้นย้ำการสนทนาของการโค้ช ให้รู้ว่าจุดประสงค์และความคาดหวังของการสนทนาแต่ละครั้งนั้นคืออะไรตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้การสนทนากลายเป็นธุรกรรมในลักษณะที่มักทำให้รู้สึกไม่สุภาพหรือไม่จำเป็น หัวหน้าควรให้ความสำคัญกับหัวข้อที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับความต้องการของบุคลากร กล่าวถึงความก้าวหน้า ความสำเร็จ และอุปสรรคต่องานปัจจุบัน

Future-oriented

What to Do

ผู้จัดการที่ดีที่สุดไม่ได้แค่ให้ข้อเสนอแนะเชิงรับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานในอดีตเป็นหลัก แต่พวกเขาค่อนข้างจะให้คำแนะนำและกลยุทธ์ แบบเชิงรุกเพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่นในอนาคต เมื่อจำเป็นต้องแก้ไขผลการปฏิบัติงาน (performance) หัวหน้าจำเป็นต้องโค้ชไปข้างหน้าโดยมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่สามารถทำได้แตกต่างออกไปในอนาคต แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ความผิดพลาดในอดีต

Conversational Frame: Basic GROW Model

 

โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model

G = Goal : คำถามเกี่ยวกับเป้าหมาย

•  อะไรคือสิ่งที่คุณตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในวันนี้?
•  ผลลัพธ์ที่อยากได้มากที่สุดจากการโค้ชครั้งนี้คืออะไร?
•  เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง/ทำงาน/พัฒนา /เรียนรู้ นี้คืออะไร?
​​​​​​​•  สิ่งที่คุณอยากทำให้สำเร็จมากที่สุดในเวลานี้คืออะไร?

R= Reality : คำถามที่เกี่ยนวกับสถานการณ์ปัจจุบัน

•  คุณคิดว่าสถานการณ์ปัจจุบันเมื่อเทียบกับเป้าหมายมีช่องว่างอะไรบ้าง?
•  การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน คุณคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยสาคัญ?
•  อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ถ้าคุณยังทำหรือเป็นอยู่ทุกวันนี้?
•   เกิดอะไรขึ้นในตอนนี้?
​​​​​​​•   สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร?

O=Option : คำถามเพื่อค้นหาทางเลือก

•  ถ้าต้องการให้เป้าหมายนี้สำเร็จควรมีแผนงานอย่างไร?
•  คุณมีวิธีการทำอะไรบ้างเพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?
•  คุณมีแนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร?
•  คุณตัดสินใจทำเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?

W=Way Forward : ถามแนวทางที่จะลงมือทำ
•   คุณกำหนดเวลาที่จะลงมือปฏิบัติเมื่อไร?
•   สรุปแนวทางที่คุณจะปฏิบัติเป็นอย่างไร?
•   สิ่งที่คุณจะทำเมื่อเดินเสร็จจากการคุยกันในครั้งนี้คืออะไร และทำเมื่อไร?
•   ใครจะช่วยให้คุณทำเรื่องนี้ได้สำเร็จบ้าง?
​​​​​​​•   คุณได้เรียนรู้ หรือได้ข้อคิดอะไรใหม่ๆบ้างจากการคุยกันวันนี้ ?