อันดับ 1 ด้านการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน

Fair and accurate (ความถี่ = 46)

 

  • ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานในภาพรวมของหน่วยงานทำให้ตัวชี้วัดผลงานอาจจะไม่เฉพาะเจาะจงในผู้ปฏิบัติที่ไม่สร้างผลงานของตนอย่างเด่นชัด เพราะเป็นการทำงานเป็นทีม
  • ลักษณะงานที่แตกต่างกัน จะเอาเปรียบเทียบกันไม่ได้ คนที่มีอายุงานมากอัตราเงินเดือนจะขึ้นตามอายุงาน ไม่ควรเปรียบเทียบกับรายได้ของคนที่มีอายุงานน้อยกว่า เพราะไม่ยุติธรรมถ้าจะให้เปอร์เซนต์ลดลงเพื่อให้ได้เท่ากับคนที่มีอายุงานน้อยกว่า เพราะทำให้ได้ผลการประเมินน้อยมาก ไม่เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
  • ควรมีการชี้แจงการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • เกณท์การประเมินต้องชัดเจน ควรมีการ  FEEDBACK ให้ผู้ถูกประเมืนทราบด้วย จะได้ปรับปรุงในภายหน้า
  • คนที่ได้รับความดีความชอบและขึ้นเงินเดือนมากหรือน้อยควรเป็นผู้ที่มีผลงานไม่ใช่เรียงตามคิว หรือความคิดเห็นส่วนตน
  • ขาดการวัดผลการปฏิบัติงานเชิงปริมาณที่ชัดเจน, แบ่งงานปริมาณไม่เท่ากัน งานแทรกด้านตัวชี้วัดมาก ทำให้มีการทำงานประจำไม่ทัน
  • ก่อนประเมินควรจะประเมินข้อมูลหลายๆด้านไม่ใช่หัวหน้าคนใดคนหนึ่ง
  • ซื่อสัตย์ ยุติธรรม อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง
  • อยากให้มีการพิจารณาหลายๆด้าน ทั้งจากการทำงาน นิสัยและจริยธรรมส่วนตัวทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตวจีกรรม มโนกรรม
  • เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน 2-3 คน ที่เกี่ยวข้องกันในหน่วยงาน จึงจะเข้าใจบริบทการทำงาน
  • ใสขั้นเงินตามการทำงาน ไม่ใช่ความรู้สึกส่วนตัว
  • ขอให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ที่สำเร็จผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • อยากให้ทางคณะแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้ PMS ในการพิจารณาการขึ้นขั้นเงินเดือน ในระดับรายบุคคลหรือกลุ่ม ให้เห็นชัดเจน จะทำให้หน่วยงานเห็นความสำคัญและพัฒนางานได้มากขึ้น
  • ในทางปฏิบัติการนำการบริหารผลการปฏฺิบัติงาน ให้เกิดผลสำเร็จ ยังมีอุปสรรคมาก เนื่องจาก 1รอบเวลาประเมินสั้นเกินกว่าเห็นผลปฏิบัติงาน 2 การรวบรวมและติดตามผลการทำงานค่อนข้างใช้เวลาและกระทบกับการทำงานประจำวัน 3 ผู้เกี่ยวข้องเช่น ผู้ประเมิน ผู้ถูกประเมิน ผู้บังคับบัญชา ยังขาดความเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมืออย่างลึกซึ้ง ทำให้อาจยังไม่ให้ความสนใจหรือไม่ให้น้ำหนักในการนำเครื่องมือมาใช้อย่างจริงจัง
  • ผลลัพธ์บางตัวนำมาประเมินผลการปฎิบัติงานไม่น่าจะ fair เช่นความพึงพอใจ  เพราะบางทีสิ่งที่ลูกค้าต้องการมันไม่สามารถตอบสนองได้และไม่ได้ขึ้นกับหน่วยงานอย่างเดียว
  • จากการประเมินผลการปฎิบัติและความคาดหวังของคะแนนแต่ละระดับบางข้อไม่สอดคล้องกับคะแนนที่ประเมินได้  รวมถึงผลรวมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการประเมินจึงดูจากการปฎิบัติงานจริงๆของบุคลากรใช้ในการตัดสินใจในที่สุด
  • เกณฑ์ที่มี ไม่สามารถนำม่ประเมินคนที่ทำงานเชิงพัฒนาและคิดนอกกรอบ ไม่เห็นด้วยกับการนำผลงานของลูกน้องไปเป็นผลงานตนเอง
  • อยากให้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อเท็จจริง ไม่ตัดสินใจจากความรู้สึกส่วนตัว
  • วัดผลยาก งานแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • ควรมีการตัดสินผลการปฏิบัติงานจากข้อมูลเชิงปฏิบัติงานมากกว่านี้
  • อยากให้ส่งแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลเป็นหนังสือแจ้ง
  • ควรมีผลต่อการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนอย่างชัดเจน
  • ประเมินเป็นพิธี  แล้วแต่พวกพ้อง เด็กใคร ก็ให้คนนั้น
  • การประเมินต้องดูจากข้อเท็จจริงไม่ควรมีความลำเอียง ต้องดูลักษณะงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน  บางคนเงินเดือนสูงก็กดเงินเดือนให้ประเมินผลตอบแทนน้อย โดยไม่ได้ดูอายุงานที่ได้ทำให้แก่องค์กร
  • รับฟังเหตุผลในทุกๆด้านของผู้ปฏิบัติงานจริง

Developmental (ความถี่ = 14)

 

  • ผู้ที่ได้รับรางวัล ดีเด่นต้องมีของขวัญให้กำลังใจบ้าง
  • เพิ่มแรงจูงใจและสนับสนุนผู้ปฎิบัติงานให้มากขึ้น
  • ควรมีการพิจารณาให้รางวัล บรรรจุ หรืออืนๆ  ในกลุ่มของพนักงานส่วนงานที่โดดเด่นให้มากขึ้น ซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจ  ส่งผลต่อผลการขององค์กรปฏิบัติงานขององค์กร
  • รายงานผลการทำงาน รายบุคคคล อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ทั้งด้าน performance & mind
  • การประเมินผลส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึกส่วนตนมาเป็นข้อมูล นอกจากนี้ตัวเงินมีน้อยทำให้ต้องเรียงลำดับปีในการได้ผลการประเมินดีเยี่ยม ทำให้ผู้ปฏิบัติที่มีผลงานดีมาตลอดทุกปีขาดกำลังใจ เพราะต้องสลับสับเปลี่ยนให้ผู้ปฏิบัติงานอื่นได้บ้างโดยที่ผลงานดีเด่นเลย ดังนั้นบุคลากรส่วนใหญ่จึงปฏิบัติแค่งานบริการของตนไม่มุ่งพัฒนางานเพราะไม่เห็นผลรางวัล
  • การประเมินการบรรจุตามอายุงาน..
  • ลักษณะงานที่แตกต่างกัน จะเอาเปรียบเทียบกันไม่ได้ คนที่มีอายุงานมากอัตราเงินเดือนจะขึ้นตามอายุงาน ไม่ควรเปรียบเทียบกับรายได้ของคนที่มีอายุงานน้อยกว่า เพราะไม่ยุติธรรมถ้าจะให้เปอร์เซนต์ลดลงเพื่อให้ได้เท่ากับคนที่มีอายุงานน้อยกว่า เพราะทำให้ได้ผลการประเมินน้อยมาก ไม่เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
  • ผลงานโดดเด่น ควรได้เลื่อนเงินจากภาค และอีกครั้งคือคณะพิจารณาเพิ่มเติม เพราะเอาจากวงเงินภาคอย่างเดียวแย่งเงินของพนักงานคนอื่นๆ
  • บางคนทำงานมานาน แต่ผลงานที่เป็นหน้าเป็นตา ก็จมอยู่ที่เดิม สงสารเขาเหมือนกัน แต่ช่วยอะไรเขาไม่ได้เพราะเราก็ไม่ได้เติบโตอะไร เพราะช่วงหลังการพิจารณาบรรจุ กับเพิ่มเงินเดือนเป็นแบบไม่ดูอาวุโส ดูผลงานมากกว่า ซึ่งมีคนได้เปรียบ แต่ก็มีคนเสียเปรียบ อยากให้เข้าใจคนทำงานนานแล้วโอกาสได้ทำงานอื่นบ้าง มันมีเหตุผลอยู่
  • ในทางปฏิบัติการนำการบริหารผลการปฏฺิบัติงาน ให้เกิดผลสำเร็จ ยังมีอุปสรรคมาก เนื่องจาก 1รอบเวลาประเมินสั้นเกินกว่าเห็นผลปฏิบัติงาน 2 การรวบรวมและติดตามผลการทำงานค่อนข้างใช้เวลาและกระทบกับการทำงานประจำวัน 3 ผู้เกี่ยวข้องเช่น ผู้ประเมิน ผู้ถูกประเมิน ผู้บังคับบัญชา ยังขาดความเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมืออย่างลึกซึ้ง ทำให้อาจยังไม่ให้ความสนใจหรือไม่ให้น้ำหนักในการนำเครื่องมือมาใช้อย่างจริงจัง
  • เกณฑ์ที่มี ไม่สามารถนำม่ประเมินคนที่ทำงานเชิงพัฒนาและคิดนอกกรอบ

achievement-oriented (ความถี่ = 13)

 

  • โอกาสในการสร้างผลงานมีไม่เท่ากัน
  • ควรประเมินผลงานตามความเป็นจริง ไม่ใช่ประเมินด้วยความชอบส่วนตัวหรือเส้นสาย
  • ควรประเมินจากผลการปฏิบัติงานมากกว่าอายุงาน และความรู้สึกส่วนตน องค์กรจึงจะได้คนที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • บางคนทำงานมานาน แต่ผลงานที่เป็นหน้าเป็นตา ก็จมอยู่ที่เดิม สงสารเขาเหมือนกัน แต่ช่วยอะไรเขาไม่ได้เพราะเราก็ไม่ได้เติบโตอะไร เพราะช่วงหลังการพิจารณาบรรจุ กับเพิ่มเงินเดือนเป็นแบบไม่ดูอาวุโส ดูผลงานมากกว่า ซึ่งมีคนได้เปรียบ แต่ก็มีคนเสียเปรียบ อยากให้เข้าใจคนทำงานนานแล้วโอกาสได้ทำงานอื่นบ้าง มันมีเหตุผลอยู่
  • ควรยึดผลงานมากกว่าความรํ้สึกส่วนตัว
  • ตัวชี้วัดบางอย่างควบคุมลำบากมีการตั้งเกณฑ์เป็น 0 ในขณะที่ให้การดูแลตามแนวทางและพยายามพัฒนาแนวทางการให้ยาแล้วก็ตาม หากนำไปประเมินผลการปฏิบัติงานส่งผลให้เกิดความเครียด
  • คนที่ได้รับความดีความชอบและขึ้นเงินเดือนมากหรือน้อยควรเป็นผู้ที่มีผลงานไม่ใช่เรียงตามคิว หรือความคิดเห็นส่วนตน
  • ขอให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ที่สำเร็จผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • อยากให้ทางคณะแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้ PMS ในการพิจารณาการขึ้นขั้นเงินเดือน ในระดับรายบุคคลหรือกลุ่ม ให้เห็นชัดเจน จะทำให้หน่วยงานเห็นความสำคัญและพัฒนางานได้มากขึ้น
  • จากการประเมินผลการปฎิบัติและความคาดหวังของคะแนนแต่ละระดับบางข้อไม่สอดคล้องกับคะแนนที่ประเมินได้  รวมถึงผลรวมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการประเมินจึงดูจากการปฎิบัติงานจริงๆของบุคลากรใช้ในการตัดสินใจในที่สุด
  • อยากให้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อเท็จจริง ไม่ตัดสินใจจากความรู้สึกส่วนตัว
  • ควรมีการตัดสินผลการปฏิบัติงานจากข้อมูลเชิงปฏิบัติงานมากกว่านี้

อันดับ 2 ด้านการตั้งเป้าหมายและความคาดหวัง

Collaborative (ความถี่ = 15)

 

  • ทำให้โปร่งใส เชื่อมโยงกับบุคลากร และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากกว่านี้
  • มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันน้อยเกินไป
  • อยากให้มีการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงานแบบตั้งใจทำงาน
  • อยากให้ผู้บังคับบัญชารับฟ้งความคิดเห็นบ้าง
  • Work From home
  • Effective Communication
  • ควรช่วยกันหาแนวทาง แก้ปัญหา และทำจริง ๆ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างจริงจัง
  • ใส่ใจกับเสียงผู้ปฏิบัติงาน หน้างาน
  • ขอให้รับฟังความคิดของคนทำงานบ้างไม่ใช่ฟังแต่ลูกค้า
  • หัวหน้าแต่ละส่วนมักมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
  • อยากให้ดูปริมาณงานกับคนทำงานแต่ละจุดด้วย
  • ควรมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจนและยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย
  • ภาระงานเยอะ ทำให้ผลงานออกมาไม่ดี เพราะมีคนทำงานน้อยกว่างาน

Clear (ความถี่ = 13)

 

  • อยากมีการกำหนดรูปแบบการประเมินผลและปฏิบัติงานที่ชัดเจน สามารถมองเห็นภาพการปฏิบัติงานได้จริงตามตัวบุคคล และภาระงานของแต่ละบุคคล
  • จัดงานให้เหมาะกับคน
  • การบริหารงานตามความเป็นจริง
  • อยากให้ดูปริมาณงานกับคนทำงานแต่ละจุดด้วย
  • ควรมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจนและยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย
  • ภาระงานเยอะ ทำให้ผลงานออกมาไม่ดี เพราะมีคนทำงานน้อยกว่างาน
  • การบริหารผลการปฏิบัติงาน ควรจะครอบคลุมพนักงานโครงการของส่วนงานด้วย และมีตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับลักษณะงานมากขึ้น
  • มีภาระงานบริหาร โดยที่ภาระงานประจำมิได้ถูกแบ่งเบา ทำให้บางครั้ง workload มากมาย
  • ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • ดูการทำงาน
  • ไม่รบกวนภาระวานประจำที่มีมากอยู่แล้ว

Aligned (ความถี่ = 3)

 

  • เริ่มจากการบริหารอะไรที่ง่ายๆดีกว่าครับ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ และสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ทำให้คนปฏิบัติเครียด
  • เอาจริงๆ ตอนนี้ คนส่วนมากยังไม่รู้ว่า E ใน MEDCMU คืออะไร

อันดับ 3 ด้านการสอนงาน/ให้ข้อมูลย้อนกลับโดยผู้บังคับบัญชา

 

Frequent (ความถี่ = 15)

 

  • ติดตาม พูดคุย และชี้แนะ ให้บ่อยขึ้น
  • ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจในการบริหาร และตัดสินใจควรใส่ใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา และส่งเสริมให้บุคลากรที่ทำงานดี มีผลงาน มีความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และชัดเจนเป็นเชิงประจักษ์มากยิ่งขึ้น
  • อยากให้ดูแลและรับฟังปัญหาความคิดเห็นของคนที่ทำงานไม่ใช่ ตัดสินใจหรือประเมินตามความคิดและแค่ที่ หัวหน้าเห็น
  • อยากให้เข้าถึงมากขึ้น
  • ควรใส่ใจลูกน้องในการทำงาน ใช่คนใกล้ดีตลอด
  • ควรมีกล่องรับฟังปัญหาและข้อคิดเห็น
  • กำกับติดตามตัวชี้วัดอย่างสม่ำเสมอ KPI ที่สำคัญปรับให้ real time มากที่สุด เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ทันต่อสถานการณ์
  • หัวหน้าควรมีความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือคนทำงานมากกว่านี้ค่ะ
  • เหนื่อยกับความ อืดอาด ชักช้า ไม่ทันการ
  • ผู้บริหารควรลงมาดูผู้ประฏิบัติงานระดับล่างบ้างเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
  • จัดการดูแลพนักงานให้ดียื่งขึ้น
  • การสื่อสารเรื่อง PMS ยังไม่ดีพอไม่ถึงคนหน้างาน
  • อยากให้บุคลากร​ทุกระดับมีโอกาสรับการสื่อสารโดยตรงจากคณะเหมือนกันทุกคน​ เช่น​ จัดTown hall meeting, Zoom, อัดคลิปและแขวนในweb.คณะที่สามารถเข้าดูซ้ำได้ในผู้ไม่ได้รับการร่วมตามเวลาที่จัด​
  • ผู้บังคับบัณชาไม่เห็นการทำงานของลูกน้อง
  • คณะต้องให้คำแนะนำในการจัดการที่ดีกว่านี้
  • อยากให้ดูแลและรับฟังปัญหาความคิดเห็นของคนที่ทำงานไม่ใช่ ตัดสินใจหรือประเมินตามความคิดและแค่ที่ หัวหน้าเห็น
  • หัวหน้าควรมีความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือคนทำงานมากกว่านี้ค่ะ

Focused (ความถี่ = 7)

 

  • การติดตามตัวชี้วัดราบบุคคลอย่างแท้จริง
  • เปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพราะส่วนใหญ่เป็นหัวข้ออบรมเฉพาะผุ้บริหาร
  • ผู้นำควรรู้จักฟังข้อเสนอแนะของน้องๆ มีความรับผิดชอบปกป้องลูกน้อง ไม่ใช่ปกป้องตัวเองมากเกินไปในเรื่อง งาน ความรับผิดชอบในงาน
  • PMS  จะนำองค์กรสู่เป้าหมายที่คาดหวังได้ ต้องมี”กระบวนการบริหารภายในหน่วยงานที่เอื้อ”ให้บุคลากรสามารถประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามที่ตั้งไว้ด้วย ไม่ใช่ให้กำหนดแต่เป้าหมาย แต่ไม่ช่วยหรือสนับสนุนให้ไปถึงเป้าหมายนั้น
  • ผู้บังคับบัญชาระดับผู้ตรวจการให้คำปรึกษา ข้อคิดเห็น รับนโยบายมาถ่ายทอดได้ดีมาก
  • อยากให้ดูแลและรับฟังปัญหาความคิดเห็นของคนที่ทำงานไม่ใช่ ตัดสินใจหรือประเมินตามความคิดและแค่ที่ หัวหน้าเห็น
  • หัวหน้าควรมีความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือคนทำงานมากกว่านี้ค่ะ

Future-oriented (ความถี่ = 4)

 

  • ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจในการบริหาร และตัดสินใจควรใส่ใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา และส่งเสริมให้บุคลากรที่ทำงานดี มีผลงาน มีความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และชัดเจนเป็นเชิงประจักษ์มากยิ่งขึ้น
  • เปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพราะส่วนใหญ่เป็นหัวข้ออบรมเฉพาะผุ้บริหาร
  • ผู้นำควรรู้จักฟังข้อเสนอแนะของน้องๆ มีความรับผิดชอบปกป้องลูกน้อง ไม่ใช่ปกป้องตัวเองมากเกินไปในเรื่อง งาน ความรับผิดชอบในงาน
  • PMS  จะนำองค์กรสู่เป้าหมายที่คาดหวังได้ ต้องมี”กระบวนการบริหารภายในหน่วยงานที่เอื้อ”ให้บุคลากรสามารถประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามที่ตั้งไว้ด้วย ไม่ใช่ให้กำหนดแต่เป้าหมาย แต่ไม่ช่วยหรือสนับสนุนให้ไปถึงเป้าหมายนั้น